วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

การใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ


Windows คืออะไร
     Windows คือ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง (operating system) สร้างขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เนื่องจากความยากในการใช้งานดอสทำให้บริษัทไมโครซอฟต์ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Windows ที่มีลักษณะเป็น GUI (Graphic-User Interface) ที่นำรูปแบบของสัญลักษณ์ภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ซึ่งใกล้เคียงกับแมคอินทอชโอเอส เพื่อให้การใช้งานดอสทำได้ง่ายขึ้น แต่วินโดวส์จะยังไม่ใช่ระบบปฏิบัติการจริง ๆ เนื่องจากมันจะทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของดอสอีกที กล่าวคือจะต้องมีการติดตั้งดอสก่อนที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows และผู้ใช้จะสามารถเรียกใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดอสได้โดยผ่านทางWindows   ซึ่ง Windows จะง่ายต่อการใช้งานมากกว่าดอส 
     ระบบปฏิบัติการ windows ใช้หลักการแบ่งงานเป็นส่วน เรียกว่า หน้าต่างงาน (windows) ที่แสดงผลลัพธ์แต่ละโปรแกรม ปัจจุบันมีการผลิตและจำหน่ายหลายรุ่น เช่น Windows XP , Windows Vista, Windows 7 เป็นต้น
Windows คืออะไร วินโดวส์ คือระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง
Windows XP

Windows คืออะไร วินโดวส์ คือระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง
Windows Vista

Windows คืออะไร วินโดวส์ คือระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง
Windows 7

ระบบปฎิบัติการวินโดวส์ (Windows)  
               ระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไมโครซอฟต์วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการธุรกิจและวงการอื่น ๆทั่วโลก บริษัทไมโครซอฟต์ได้พัฒนาวินโดวส์ออกมาหลายรุ่น ได้แก่ วินโดวส์ 95 วินโดวส์ 98 วินโดวส์ 2000 วินโดวส์ Me วินโดวส์ XP และล่าสุดคือวินโดวส์ 2003 ทุก ๆรุ่นจะมีหน้าตาและการทำงานคล้าย ๆกัน ต่างกันเพียงความสามารถในการใช้งานที่สูงขึ้น
             
              การเข้าสู่ระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์
                       เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมวินโดวส์แล้ว เมื่อเปิดเครื่องแล้วคอยสักครู่จะเข้าสู่โปรแกรมของระบบในช่วงการเปิดเครื่องโปรแกรมจะตรวจสอบระบบของฮาร์ดแวร์ต่าง ๆหลังจากนั้นจะมีจอภาพดังรูป







                      1. เดสก์ทอป (Desktop) พื้นหลังของจอภาพในระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์ เรียกว่า เดสก์ทอป หมายถึง โต๊ะทำงานที่มีอุปกรณ์การทำงานอยู่ครบพร้อมทำงานได้ทันที
                      2. แป้นลัด (Short cut) เป็นรูปเล็ก ๆ บนหน้าจอ สำหรับคลิกให้ทำงานหรือเปิดโปรแกรมได้โดยไม่ต้องเข้าไปเปิดโฟลเดอร์ในโปรแกรม ด้านบนขวาสุดเป็นแป้นลัดสำหรับ คลิกเข้าสู่โปรแกรมของไมโครซอฟต์ออฟฟิศ ได้แก่ ไมโครซอฟต์เวิร์ด ไมโครซอฟต์เอกเซลไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ ฯลฯ เป็นต้น
                      3. สัญรูป (Icon) เป็นรูปเล็ก ๆ บนจอภาพใช้แทนการทำงานหรือคำสั่งต่าง ๆ สำหรับคลิกเพื่อให้เกิดการทำงาน
                      4. แถบงาน (Task bar) เป็นแถบสีเทาด้านล่างของเดสก์ทอป สำหรับแสดงงานที่เปิดใช้อยู่ และงานที่ปิดไว้ชั่วคราว แถบงานประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆดังนี้
                              v      ปุ่ม Start อยู่ด้านซ้ายของแถบงาน สำหรับคลิกเพื่อเปิดกรอบเมนูของโปรแกรม
       v      เทมเพลท (Template) อยู่ด้านขวาของแถบงาน ประกอบด้วย นาฬิกา ตัวอักษร TH และ EN บอกโหมดการใช้ภาษาของแป้นพิมพ์เป็นไทยและอังกฤษ การสลับภาษาระหว่างไทยและอังกฤษ ทำได้ 2 วิธี คือ
                                     1. ใช้เมาส์คลิกที่ตัวอักษร EN หรือ TH ในแถบงานจะมีกรอบแสดงภาษาให้เลือก ผู้ใช้คลิกเลือกภาษาที่ต้องการ ดังรูป
                                     2. กดปุ่ม Assent ที่แป้นพิมพ์สลับไทยเป็นอ้งกฤษ และอังกฤษเป็นไทย
                     5. ตัวชี้เมาส์ ปกติเป็นรูปลูกศรสีขาว มีหน้าที่คลิกเพื่อเปิดโปรแกรม ลักษณะของการใช้เมาส์มี 4 แบบ
                             v      การลากและปล่อย (Drag and Drop) เป็นวิธีการคลิกปุ่มข้างซ้ายค้างไว้ที่สัญรูป แล้วลากไปปล่อยที่ตำแหน่งอื่น
                             v      การคลิก (Click) หมายถึง ชี้เมาส์ที่สัญรูปที่ต้องการ และกดเมาส์ข้างซ้าย 1 ครั้ง 
                             v      การคลิกขวา (Right click) เป็นการกดปุ่มข้างขวา 1 ครั้ง
                             v      การดับเบิ้ลคลิก (Double click) คือการคลิก 2 ครั้งติดต่อกันอย่างเร็ว
                       6. สัญรูปหลักที่มีบนจอภาพ ได้แก่ 
                             v      My Documents เป็นรูปแฟ้มสีเหลืองเรียกว่า โฟลเดอร์ (Folder) สำหรับเก็บข้อมูลเอกสารต่างๆ ที่บันทึกจากโปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศ เป็นการแบ่งเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ออกเป็นห้องสำหรับเก็บโปรแกรมต่าง ๆ ไม่ให้ปะปนกัน
                              ในโฟลเดอร์ My documents ของวินโดวส์ Me จะแบ่งย่อยเป็น - My Pictures สำหรับเก็บรูปภาพต่าง ๆ My Music เก็บแฟ้มเสียงที่เป็นเพลงต้วอย่างไว้เราสามารถนำแฟ้มเสียงและภาพมาใส่เพิ่มเติมได้
                             v      My Computer  แสดงอุปกรณ์เก็บข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมดที่ติดตั้งไว้ ได้แก่ 3.5 Floppy (A:) Local Disk C: และ Compact Disc (E:) 

                                Local Disk หมายถึง อุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ติดตั้งในไว้ในระบบ จะมีชื่อเรียกเป็น A: B: C: D: E: F: ปกติเราจะติดตั้งเพียง A: เป็นฟลอปปีดิสก์ C: เป็นฮาร์ดดิสก์ และ D: เป็นซีดีรอม ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์มีความจุมากขึ้น จึงต้องแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ถ้าแบ่ง 2 ส่วน จะได้ ฮาร์ดดิสก์ชื่อ C: และ D: ซีดีรอมจะเปลี่ยนชื่อเป็น E: อย่างอัตโนมัติ
                                 Control Panel เป็นเครื่องมือจัดการระบบปฏิบัติการและอุปกรณ์ ต่อพ่วงต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
                                Recycle Bin เป็นที่เก็บข้อมูลที่ถูกลบจากฮาร์ดดิสก์ไว้ชั่วคราว และสามารถนำข้อมูลนั้นกลับมาใช้ได้อีก
                                   Internet Explorer สำหรับคลิกเข้าสู่ระบบอินเตอร์เนต โดยต้อง ติดตั้งระบบอินเตอร์เนตก่อน
                                Windows Media Player มีไว้สำหรับดูหนัง และฟังเพลงจาก แผ่นซีดี และ MP 3 มีอยู่ในวินโดวส์ Me และรุ่นที่สูงกว่า

                                    Microsoft Outlook สำหรับรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-mail ซึ่งต้องติดตั้งระบบอินเตอร์เนตไว้ด้วย






ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์


ในโลกของการติดต่อสื่อสารในปัจจุบันได้มีการพัฒนาที่ก้าวหน้าเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการสื่อสารแบบไร้สาย ที่ได้มีการพัฒนาความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้น จากเดิมที่มีการส่งได้เพียงข้อความสั้น(SMS :Short Message Service) และ MMS(Multimedia Messaging Service) ปัจจุบันสามารถทำการโทรศัพท์แบบเห็นหน้าคู่สนทนากันได้ (Video Call) แต่ต้องผ่านทางระบบของวายฟาย Wi-Fi (wireless fidelity) หรือ ระบบ 3G (Third Generation of Mobile Telephone)

ซึ่งสำหรับประเทศไทยแล้ว อุปกรณ์มือถือ และอุปกรณ์พกพา ส่วนมากในตลาดจะรองรับระบบการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก โดยอุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในท้องตลาด จะมีระบบปฏิบัติการเป็นของตัวเอง ที่ไม่เหมือนกับระบบปฏิบัติการที่อยู่บนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC :Personal Computer) ส่งผลให้แนวทางในการพัฒนาโปรแกรม เพื่อนำไปใช้งานบนอุปกรณ์เหล่านั้นยุ่งยาก และหลากหลายขึ้น

ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์ดังกล่าว มีอยู่หลายตัวกันเช่น Android, iOS, Windows Phone, BlackBerry, Symbian, webOS, MeeGo และ QNX เป็นต้น โดยลักษณะของระบบปฏิบัติการข้างต้น ส่วนมากจะเป็นประเภทไม่เปิดเผยซอร์ฟแวร์ต้นฉบับ (Closed Source) ซึ่งหมายความว่า ระบบปฏิบัติการดังกล่าว ไม่สามารถนำมาศึกษา ดัดแปลงการทำงานของระบบปฏิบัติการเพื่อนำไปใช้งานตามที่ต้องการได้ ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการพัฒนา และการพัฒนาจะถูกกำหนดทิศทางโดยบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์


AndroidiOSWindows Phone
AndroidiOSWindows Phone
webOSSymbian
webOSSymbian

แอนดรอยด์ (Android) คือระบบปฏิบัติการแบบเปิดเผยซอร์ฟแวร์ต้นฉบับ (Open Source) โดยบริษัท กูเกิ้ล (Google Inc.) ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มีจำนวนมาก อุปกรณ์มีหลากหลายระดับ หลายราคา รวมทั้งสามาถทำงานบนอุปกรณ์ที่มีขนาดหน้าจอ และความละเอียดแตกต่างกันได้ ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกได้ตามต้องการ

และหากมองในทิศทางสำหรับนักพัฒนาโปรแกรม (Programmer) แล้วนั้น การพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้งานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ไม่ใช่เรื่องที่ยาก เพราะมีข้อมูลในการพัฒนารวมทั้ง Android SDK (Software Development Kit) เตรียมไว้ให้กับนักพัฒนาได้เรียนรู้ และเมื่อนักพัฒนาต้องการจะเผยแพร่หรือจำหน่ายโปรแกรมที่พัฒนาแล้วเสร็จ แอนดรอยด์ก็ยังมีตลาดในการเผยแพร่โปรแกรม ผ่าน Android Market แต่หากจะกล่าวถึงโครงสร้างภาษาที่ใช้ในการพัฒนานั้น สำหรับ Android SDK จะยึดโครงสร้างของภาษาจาวา (Java language) ในการเขียนโปรแกรม เพราะโปรแกรมที่พัฒนามาได้จะต้องทำงานอยู่ภายใต้ Dalvik Virtual Machine เช่นเดียวกับโปรแกรมจาวา ที่ต้องทำงานอยู่ภายใต้ Java Virtual Machine (Virtual Machine เปรียบได้กับสภาพแวดล้อมที่โปรแกรมทำงานอยู่)
นอกจากนั้นแล้ว แอนดรอยด์ ยังมีโปรแกรมแกรมที่เปิดเผยซอร์ฟแวร์ต้นฉบับ (Open Source) เป็นจำนวนมาก ทำให้นักพัฒนาที่สนใจ สามารถนำซอร์ฟแวร์ต้นฉบับ มาศึกษาได้อย่างไม่ยาก ประกอบกับความนิยมของแอนดรอยด์ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากใน โดยดูได้จากส่วนแบ่งการตลาด ดังรูป
[[รูป 1-2 : ส่วนแบ่งการตลาดของ Smart Phone ในปี 2010 ไตรมาสที่ 4 ข้อมูลจาก www.canalys.com ]]
ส่วนแบ่งตลาดของ SmartPhone

ประวัติความเป็นมา

เริ่มต้นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ถูกพัฒนามาจากบริษัท แอนดรอยด์ (Android Inc.) เมื่อปี พ.ศ 2546 โดยมีนาย แอนดี้ รูบิน (Andy Rubin) ผู้ให้กำเนิดระบบปฏิบัติการนี้ และถูกบริษัท กูเกิ้ล ซื้อกิจการเมื่อ เดือนสิงหาคม ปี พ.ศ 2548 โดยบริษัทแอนดรอยด์ ได้กลายเป็นมาบริษัทลูก ของบริษัทกูเกิ้ล และยังมีนาย แอนดี้ รูบิน ดำเนินงานอยู่ในทีมพัฒนาระบบปฏิบัติการต่อไป
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากการนำเอา แกนกลางของระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux Kernel) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อทำงานเป็นเครื่องให้บริการ (Server) มาพัฒนาต่อ เพื่อให้กลายเป็นระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา (Mobile Operating System)
ต่อมาเมื่อเดือน พฤศจิกายน ปี พ.ศ 2550 บริษัทกูเกิ้ล ได้ทำการก่อตั้งสมาคม OHA (Open Handset Alliance, http://www.openhandsetalliance.com) เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการกำหนดมาตรฐานกลาง ของอุปกรณ์พกพาและระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยมีสมาชิกในช่วงก่อนตั้งจำนวน 34 รายเข้าร่วม ซึ่งประกอบไปด้วยบริษัทชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจด้าการสื่อสาร เช่น โรงงานผลิตอุปกรณ์พกพา, บริษัทพัฒนาโปรแกรม, ผู้ให้บริการสื่อสาร และผู้ผลิตอะไหล่อุปกรณ์ด้านสื่อสาร
[[รูป 1-3 : สมาคม OHA (Open Handset Alliance)]] 
สมาคม OHA (Open Handset Alliance
หลังจากนั้น เมื่อเดือนตุลาคม ปี พ.ศ 2551 บริษัท กูเกิ้ล ได้เปิดตัวมือถือตัวแรกที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ที่ชื่อ T-Mobile G1 หรืออีกชื่อนึงคือ HTC Dream โดยใช้แอนดรอยด์รุ่น 1.1 และหลังจากนั้น ได้มีการปรับพัฒนาระบบปฏิบัติการเป็นรุ่นใหม่ มาเป็นลำดับ
[[รูป 1-4 : T-Mobile G1/HTC Dream]] [[01-04-01.bmp]]
T-Mobile G1/HTC Dream
ช่วงต่อมาได้มีการออกผลิตภัณฑ์จากบริษัทต่างๆ ออกมาหลากหลายรุ่น หลากหลายยี่ห้อ ตามการพัฒนาระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้สินค้าของแอนดรอยด์ มีให้เลือกอยู่อย่างมากมาย
[[รูป 1-5 : Android Device]] 
Samsung: Nexus SHTC: EVO 4GMotorola: Droid2
Samsung: Nexus SHTC: EVO 4GMotorola: Droid2
Motorola: XOOMHTC: Flyer
Motorola: XOOMHTC: Flyer

โครงสร้างของแอนดรอยด์

การทำความเข้าใจโครงสร้างของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเพราะถ้านักพัฒนาโปรแกรม สามารถมองภาพโดยรวมของระบบได้ทั้งหมด จะให้สามารถเข้าใจถึงกระบวนการทำงานได้ดียิ่งขึ้น และสามารถนำไปช่วยในการออกแบบโปรแกรมที่ต้องการพัฒนา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
[[รูป 1-6 : Android Architecture]]
Android Architecture
จากโครงสร้างของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จะสังเกตุได้ว่า มีการแบ่งออกมาเป็นส่วนๆ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน โดยส่วนบนสุดจะเป็นส่วนที่ผู้ใช้งานทำการติดต่อโดยตรงซึ่งก็คือส่วนของ (Applications) จากนั้นก็จะลำดับลงมาเป็นองค์ประกอบอื่นๆตามลำดับ และสุดท้ายจะเป็นส่วนที่ติดต่อกับอุปกรณ์โดยผ่านทาง Linux Kernel โครงสร้างของแอนดรอยด์ พอที่จะอธิบายเป็นส่วนๆได้ดังนี้
  • Applications ส่วน Application หรือส่วนของโปรแกรมที่มีมากับระบบปฏิบัติการ หรือเป็นกลุ่มของโปรแกรมที่ผู้ใช้งานได้ทำการติดตั้งไว้ โดยผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้โปรแกรมต่างๆได้โดยตรง ซึ่งการทำงานของแต่ละโปรแกรมจะเป็นไปตามที่ผู้พัฒนาโปรแกรมได้ออกแบบและเขียนโค้ดโปรแกรมเอาไว้
  • Application Frameworkเป็นส่วนที่มีการพัฒนาขึ้นเพื่อให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาโปรแกรมได้สะดวก และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนักพัฒนาไม่จำเป็นต้องพัฒนาในส่วนที่มีความยุ่งยากมากๆ เพียงแค่ทำการศึกษาถึงวิธีการเรียกใช้งาน Application Framework ในส่วนที่ต้องการใช้งาน แล้วนำมาใช้งาน ซึ่งมีหลายกลุ่มด้วยกัน ตัวอย่างเช่น
    • Activities Manager  เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งที่จัดการเกี่ยวกับวงจรการทำงานของหน้าต่างโปรแกรม(Activity)
    • Content Providers เป็นกลุ่มของชุดคำสั่ง ที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลของโปรแกรมอื่น และสามารถแบ่งปันข้อมูลให้โปรแกรมอื่นเข้าถึงได้
    • View System เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งที่เกี่ยวกับการจัดการโครงสร้างของหน้าจอที่แสดงผลในส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้งาน (User Interface)
    • Telephony Manager เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลด้านโทรศัพท์ เช่นหมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น
    • Resource Manager เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งในการเข้าถึงข้อมูลที่เป็น ข้อความ, รูปภาพ
    • Location Manager เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งที่เกี่ยวกับตำแหน่งทางภูมิศาตร์ ที่ระบบปฏิบัติการได้รับค่าจากอุปกรณ์
    • Notification Manager เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งที่จะถูกเรียกใช้เมื่อโปรแกรม ต้องการแสดงผลให้กับผู้ใช้งาน ผ่านทางแถบสถานะ(Status Bar) ของหน้าจอ
  • Libraries เป็นส่วนของชุดคำสั่งที่พัฒนาด้วย C/C++ โดยแบ่งชุดคำสั่งออกเป็นกลุ่มตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น Surface Manage จัดการเกี่ยวกับการแสดงผล, Media Framework จัดการเกี่ยวกับการการแสดงภาพและเสียง, Open GL | ES และ SGL จัดการเกี่ยวกับภาพ 3มิติ และ 2มิติ, SQLlite จัดการเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล เป็นต้น
  • Android Runtime จะมี Darvik Virtual Machine ที่ถูกออกแบบมา เพื่อให้ทำงานบนอุปกรณ์ที่มี หน่วยความจำ(Memmory), หน่วยประมวลผลกลาง(CPU) และพลังงาน(Battery)ที่จำกัด ซึ่งการทำงานของ Darvik Virtual Machine จะทำการแปลงไฟล์ที่ต้องการทำงาน ไปเป็นไฟล์ .DEX ก่อนการทำงาน เหตุผลก็เพื่อให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเมื่อใช้งานกับ หน่วยประมวลผลกลางที่มีความเร็วไม่มาก ส่วนต่อมาคือ Core Libraries ที่เป็นส่วนรวบรวมคำสั่งและชุดคำสั่งสำคัญ โดยถูกเขียนด้วยภาษาจาวา (Java Language)
  • Linux Kernel เป็นส่วนที่ทำหน้าที่หัวใจสำคัญ ในจัดการกับบริการหลักของระบบปฏิบัติการ เช่น เรื่องหน่วยความจำ พลังงาน ติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ความปลอดภัย เครือข่าย โดยแอนดรอยด์ได้นำเอาส่วนนี้มาจากระบบปฏิบัติการลินุกซ์ รุ่น 2.6 (Linux 26. Kernel) ซึ่งได้มีการออกแบบมาเป็นอย่างดี

รุ่นต่างๆ ของแอนดรอยด์

หลังจากที่บริษัท กูเกิ้ล ได้ซื้อบริษัท แอนดรอยด์ และได้มีการก่อตั้งสมาคม สมาคม OHA (Open Handset Alliance) เป็นที่เรียบร้อย ทางกูเกิ้ลก็ได้มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ขึ้นมาเป็นลำดับ โดยพอสังเขป ได้ดังนี้
  • รุ่น 1.0 , 23 กันยายน 2551
  • รุ่น 1.5 (Cupcake), 30 เมษายน 2552
  • รุ่น 1.6 (Donut), 15 กันยายน 2552
  • รุ่น 2.0 (Éclair), 26 ตุลาคม 2552
  • รุ่น 2.2 (Froyo), 20 พฤษภาคม 2553
  • รุ่น 2.3 (Gingerbread), 6 ธันวาคม 2553
  • รุ่น 3.0 (Honeycomb), 22 กุมภาพันธ์ 2554
[[รูป 1-7 : Android Logo]]
V1.5 CupcakeV1.6 DonutV2.0 Eclari
V1.5 CupcakeV1.6 DonutV2.0 Eclari
V2.2 FroyoV2.3 GingerbreadV3.0 Honeycomb
V2.2 FroyoV2.3 GingerbreadV3.0 Honeycomb
และภายในปี พ.ศ 2554 นี้ ทางบริษัทกูเกิ้ล มีแผนจะออกรุ่นใหม่อีก 1 รุ่น นับว่าเป็นการพัฒนาการ ของแอนดรอยด์ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่หากมองในส่วนของจำนวนผู้ใช้ต่อรุ่นแล้วนั้น จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก Android Market จะพบได้ว่า รุ่นที่มีการใช้งานมากที่สุด (ข้อมูล ณ 15 มีนาคม 2554) จะเป็นรุ่น 2.2 (Froyo)
[[รูป 1-8 : Current Distribution]] [[01-08-01.bmp]]
Current Distribution

ข้อเด่นของแอนดรอยด์

เนื่องจากระบบปฏิบัตการแอนดรอยด์มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีส่วนแบ่งตลาดของอุปกรณ์ด้านนี้ ขึ้นทุกขณะ ทำให้กลุ่มผู้ใช้งาน และกลุ่มนักพัฒนาโปรแกรม ให้ความสำคัญกับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เพิ่มมากขึ้น
เมื่อมองในด้านของกลุ่มผลิตภัณฑ์ บริษัทที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ ได้มีการนำเอาระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ไปใช้ในสินค้าของตนเอง พร้อมทั้งยังมีการปรับแต่งให้ระบบปฏิบัติการมีความสามารถ การจัดวาง โปรแกรม และลูกเล่นใหม่ๆ ที่แตกต่างจากคู่แข่งในท้องตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มสินค้าที่เป็น มือถือรุ่นใหม่ (SmartPhone) และอุปกรณ์จอสัมผัส (Touch Screen) โดยมีคุณลักษณะแตกต่างกันไป เช่นขนาดหน้าจอ ระบบโทรศัพท์ ความเร็วของหน่วยประมวลผล ปริมาณหน่วยความจำ แม้กระทั่งอุปกรณ์ตรวจจับต่างๆ(Sensor)
หากมองในด้านของการพัฒนาโปรแกรม ทางบริษัท กูเกิ้ล ได้มีการพัฒนา Application Framework ไว้สำหรับนักพัฒนาใช้งาน ได้อย่างสะดวก และไม่เกิดปัญหาเมื่อนำชุดโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมา ไปใช้กับอุปกรณ์ที่มีคุณลักษณะต่างกัน เช่นขนาดจออุปกรณ์ ไม่เท่ากัน ก็ยังสามารถใช้งานโปรแกรมได้เหมือนกัน เป็นต้น


ซิมเบียน



Symbian OS 6.0 หรือที่เรียกว่า ER6 (EPOC Release 6, ออกวางจำหน่ายก่อนหน้านี้ 5) ได้เปิดตัวใน 2001.
EPOC32 สนับสนุนการพัฒนาแยกอินเตอร์เฟซผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI €™ s) & ฟังก์ชันเดียวกันได้ ported เพื่อ Symbian, นี่ก็เป็นผลในสามส่วนติดต่อผู้ใช้ที่สำคัญมีการพัฒนา; Nokia S60, UIQ โดยโมโตโรล่า & Sony Ericsson & MOAP(S) โดย NTT DoCoMo.
จากผู้ใช้รุ่นนี้มีความสามารถในการติดตั้งโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์ของพวกเขา. โทรศัพท์คนแรกที่มาพร้อมกับ S60 UI & Symbian OS 6.1 เป็นโนเกีย 7650; มันเป็นโทรศัพท์ 2.5G แรกและมีกล้อง & เซ็นเซอร์วัดแสง.
บางคุณสมบัติของ Symbian OS 6 รวมบลูทู ธ, IrDA & สนับสนุนหน่วยความจำภายนอก, XHTML, MMS, Java MIDP 1.0, SMTP, IMAP4, และความสามารถ POP3.
Symbian OS 7.0 ได้เปิดตัวใน 2003; จะเพิ่มการสนับสนุนสำหรับ Java MIDP 2.0. นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการเชื่อมต่อเครือข่ายหลายพร้อมกันเข้ามา (เรียกดู & ส่งอีเมลได้ในเวลาเดียวกัน) & ความสามารถในการเลือกการเชื่อมต่อเครือข่ายขึ้นอยู่กับคุณภาพของการบริการ.
ประสิทธิภาพการทำงานมัลติมีเดียได้ดีขึ้นด้วยการสนับสนุนการใช้งานแบบมัลติเธรดสื่อเช่น. Games, เครื่องเล่นสื่อ.
รอบ 1.18 ล้านบาทโทรศัพท์มือถือ Symbian ถูกส่งในไตรมาส 1 2003 เมื่อเทียบกับ 2 ล้านบาทในการจัดส่ง 2002 โดยภาพรวม.
โนเกีย ส่วนติดต่อผู้ใช้ S60 2nd Edition และรุ่น 2 แพ็คคุณสมบัติ 1 (FP1) โดยขึ้นอยู่กับรุ่นนี้ Symbian OS 8.0 ได้เปิดตัวใน 2004. ที่ว่าโทรศัพท์เวลาปกติมีสองหน่วยประมวลผล / ชิป, หนึ่งในการจัดการการสื่อสารและอื่น ๆ ในการจัดการการดำเนินงานระบบและข้อมูลของผู้ใช้หรือมีสองระบบปฏิบัติการ, อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับส่วนวิทยุและการจัดการผู้ใช้อื่น ๆ €™ s ข้อมูล.
Symbian 8.0 คือสามารถจัดการทั้งสองด้วยตัวเอง.
นี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายของโทรศัพท์มือถือ Symbian & ทำให้มันเป็น OS แรกที่สำคัญโทรศัพท์มือถือเพื่ออวดความสามารถนี้.
การปรับปรุงอื่น ๆ รวมถึงเพิ่มความสามารถมัลติมีเดีย, การสนับสนุน Java ดีกว่า, OpenGL ES & SDIO (SD ความหมายขยายหน่วยความจำ & การสนับสนุนเทคโนโลยีเช่น DVB - H & การจดจำลายนิ้วมือ).
โนเกียโทรศัพท์แรกของ N - series N90 จะขึ้นอยู่กับรุ่น 8.1. S60 2ครั้ง Edition FP2 และ FP3 ได้ขึ้นอยู่กับรุ่น 8.0 & 8.1. Symbian OS 9.1 ออกวางจำหน่ายได้ในช่วงต้น 2005 แต่รุ่น 9.0 ไม่ได้มีไว้สำหรับประชาชนทั่วไป.
ในรุ่น 9.1 และการอัพเกรดเป็นผลเนื่องมาจากคุณสมบัติการรักษาความปลอดภัยมากขึ้นมีการเพิ่ม. การปรับปรุงอื่น ๆ รวมถึง HSDPA และในตัว WiFi & บลูทู ธ 2.0 สนับสนุน, ความสามารถในการรับสาย IP ผ่าน WiFi.
รูปแบบที่ 9.4 เพิ่มการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างมีนัยสำคัญ. S60 3. Edition ขึ้นอยู่กับ 9.1, 3. Edition FP1 บน 9.2 & FP2 บน 9.3. S60 5TH หรือ Symbian Edition 1 ( S^ 1) จะขึ้นอยู่กับรุ่น 9.4.
Symbian OS 9.5 คือรุ่นล่าสุดของชุดระบบปฏิบัติการ Symbian, ประกาศในเดือนมีนาคม 2007. มันต้องมี 20-30% RAM น้อยลง & เวลาเริ่มต้นสำหรับระบบปฏิบัติการลดลง & การใช้งาน
Symbian Anna
ด้วยการเปิดตัวของ Nokia X7 และ E6 มารุ่นใหม่ที่เรียกว่า Symbianแอนนา
ตามวิสัยทัศน์ประมาณโทรศัพท์มือถือ. 446 ล้านโทรศัพท์ Symbian OS ได้รับการจัดส่งเป็นของ H2 2010. อนาคตของระบบปฏิบัติการที่อาศัยอยู่กับเราทุกปีเหล่านี้ & ขับเคลื่อนที่ดีที่สุดโทรศัพท์สื่อในขณะนี้ไม่เป็นที่รู้จักเป็น Nokia ได้ตัดสินใจที่จะร่วมเป็นพันธมิตรกับไมโครซอฟท์ การใช้ Windows เป็นฐานของระบบปฏิบัติการสำหรับมาร์ทโฟน.
Symbian Belle โนเกียเปิดตัว Symbian รุ่นถัดไปรหัส "Belle" (นับต่อจาก Anna ที่ใช้ตัว A แนวทางเดียวกับ Ubuntu) เรียบร้อย
ของใหม่ใน Symbian Belle มีดังนี้




ความแตกต่างระหว่าง  ซิมเบี้ยน และ แอนดรอยน์

Symbian 
คือ ระบบปฏิบัติการณ์ของ Nokia ซึ่ง จะมีอยู่ในมือถือของ Nokia แทบทุกรุ่น ถ้าจะซื้อขอแนะนำว่าไม่ควรครับ เพราะ Symbian เก่ามากแล้ว  แถม Nokia ประกาศจะเลิกทำต่อแล้วด้วย เวอร์ชั่นล่าสุดตอนนี้คือ Symbian Anna ครับ

Android
คือ ระบบปฏิบัติการของ Google ส่วนใหญ่มักจะใช้ในมือถือ Samsung , Sony Ericsson , hTC , LG ฯลฯ ผมขอตอบว่า Android ดีกว่าครับ แทบจะทุกด้าน มือถือ High-end ของ Android สเปคแรงกว่าตัว Symbian ครับ ปัจจุบันเวอร์ชั่น 2.3 GingerBread ใช้ใน Smartphone และ 3.0 Honeycomb ใช้ใน Tablet

พิมพ์เหนื่อยเลย = =" สรุปว่า Android ดีกว่าครับ ทั้งแอปพลิเคชั่นที่รองรับมาก มี Custom Rom ให้ลองเล่นเยอะ แถมเป็น Open Source ซึ่งราคาจะถูก (ถูกกว่าไอโฟน) แถมมีให้เลือกหลายรุ่นมากๆ ช่วยแนะนำเครื่องให้ไหมครับ?





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น