วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นายอนันต์สิทธิ์ พอกเพียร ข่าว


โลกแคบเกินไปสำหรับธุรกิจ'กูเกิล'
บนโลกใบนี้คงจะมีคนน้อยมากที่ไม่รู้จักชื่อ 'กูเกิล' อีกทั้ง ธุรกิจของกูเกิลก็ยังขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้ง
                 ธุรกิจ ของกูเกิลก็ยังขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะรุกเข้าสู่ตลาดโทรศัพท์มือถือด้วยการเปิดตัวระบบปฏิบัติการ "แอนดรอยด์" สำหรับสมาร์ทโฟน ที่ปัจจุบันพัฒนามาถึงเวอร์ชั่น 4 ที่หลายต่อหลายคนตั้งตารอคอยการมาถึงของโทรศัพท์ที่ใช้โอเอสรุ่นนี้ กูเกิลยังได้ทุ่มเงินซื้อกิจการผลิตโทรศัพท์มือถือของโมโตโรล่าเพื่อใช้สิทธิ์เหนือสิทธิบัตรของโมโตโรล่าที่มีอยู่อย่างมากมายและทับไลน์กับแนวทางการขยายธุรกิจของกูเกิล
 ของกูเกิลก็ยังขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะรุกเข้าสู่ตลาดโทรศัพท์มือถือด้วยการเปิดตัวระบบปฏิบัติการ "แอนดรอยด์" สำหรับสมาร์ทโฟน ที่ปัจจุบันพัฒนามาถึงเวอร์ชั่น 4 ที่หลายต่อหลายคนตั้งตารอคอยการมาถึงของโทรศัพท์ที่ใช้โอเอสรุ่นนี้ กูเกิลยังได้ทุ่มเงินซื้อกิจการผลิตโทรศัพท์มือถือของโมโตโรล่าเพื่อใช้สิทธิ์เหนือสิทธิบัตรของโมโตโรล่าที่มีอยู่อย่างมากมายและทับไลน์กับแนวทางการขยายธุรกิจของกูเกิล
             แต่ทุกวันนี้ดูเหมือนว่าพื้นแผ่นดินและโลกไซเบอร์บนโลกราหูใบนี้จะแคบเกินไปสำหรับการขยายตัวทางธุรกิจของกูเกิล ที่ล่าสุดนายแลรี่ เพจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) และนายอีริค ชมิดท์ ประธานกรรมการบริหารกูเกิล อิงค์ ได้ร่วมลงขันกับนายเจมส์ คาเมรอน ผู้กำกับภาพยนตร์ "ไททานิค" และ "อวตาร" เปิดบริษัทแพลเนทารี รีซอร์สเซส อิงค์ โดยวางจุดประสงค์ของบริษัทไว้ที่ "การสำรวจอวกาศและค้นหาทรัพยากรธรรมชาติ"
             พูดง่ายๆ ก็คือกูเกิล และนายคาเมรอนกำลังวางแผนการลงทุนทำเหมืองในอวกาศ ด้วยเงินลงทุนมหาศาลกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐตามการประเมินขององค์การการบินและอวกาศแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ "นาซา"
             ในความเป็นจริงนักวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ทั่วโลกต่างรู้ดีว่าในอวกาศที่เวิ้งว้างนั้น ยังมีแหล่งทรัพยากรที่รอการค้นพบและนำมาใช้ประโยชน์อีกมาก จากการศึกษาอุกกาบาตที่หล่นจากท้องฟ้าลงมายังพื้นโลก และพบแร่เหล็กนิกเกิล และทองคำ รวมทั้งแร่ธาตุอื่นๆ ที่มนุษย์รู้จักและไม่รู้จักอีกจำนวนหนึ่ง แต่การทำเหมืองในอวกาศนั้นเหมือนเป็นความฝันของมนุษยชาติในช่วงที่ผ่านมา เพราะไม่มีเทคโนโลยียานขนส่ง และอุปกรณ์สำรวจแร่ในอวกาศ รวมทั้งไม่มีนักลงทุนที่ "กล้า" พอที่จะลงทุนกับความฝันเช่นนี้
             แพลเนทารี รีซอร์สเซส เปิดเผยกระบวนการทำเหมืองในอวกาศอย่างคร่าวๆ ไว้ว่า จะใช้ยานอวกาศที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการขับเคลื่อน "ดึง" เอาดาวเคราะห์น้อย หรืออุกกาบาต ที่มีแหล่งแร่อยู่เป็นจำนวนมาก เข้ามาในวงโคจรของดวงจันทร์ ก่อนที่จะส่งยานอวกาศนำนักสำรวจหรือหุ่นยนต์สำรวจและทำเหมืองขึ้นไปยังดาวเคราะห์น้อยดวงนั้น และขุดเจาะนำแร่ขึ้นยานขนส่งกลับสู่โลก
             นาซาประเมินค่าใช้จ่ายเหนาะๆ สำหรับการดึงดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กน้ำหนัก 500 ตันเข้าใกล้โลกอยู่ที่ 2,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 7.8 หมื่นล้านบาท) ไม่รวมอุปกรณ์การทำเหมืองและการขนส่งอุปกรณ์ หรือแร่ที่ได้กลับสู่โลก
             อย่างไรก็ตามผู้บริหารของกูเกิลยืนยันว่าถ้าโครงการดังกล่าวที่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นภายในทศวรรษนี้เป็นจริงขึ้นมาจะทำให้เศรษฐกิจโลกเติบโตขึ้นถึง 3 เท่าตัวจากปัจจุบัน ชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรโลกจะดีขึ้นตามไปด้วย จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และทรัพยากรแร่ธาตุที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์ซึ่งนำมาจากนอกโลก
             นี่คงเรียกได้ว่า "ความฝันที่ยิ่งใหญ่" ของผู้กุมบังเหียนกูเกิล และผู้กำกับภาพยนตร์ที่เคยสะท้อนความฝันเกี่ยวกับการทำเหมืองในอวกาศในภาพยนตร์เรื่อง "อวตาร" มาอย่างชัดเจน
             ขอเพียงแค่อย่าบุกไปบนดาวเคราะห์น้อยแล้วต้องทำสงครามกับชนเผ่า "นาวี" อย่างในภาพยนตร์อีกเลย

แหล่งที่มา....https://www.google.co.th/search?q=ข่าวเศรษฐกิจเทคโนโลยี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น